รักทุกฤดู

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                สิ่งใดมีคุณอนันต์ย่อมมีโทษมหันต์ กิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ของมนุษย์ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ สาระและเวลาที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ ATM  และการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยการเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ เช่น การทอนและนับเงิน การบันทึกการให้บริการ การออกใบเรียกเก็บเงิน การสั่งซื้อสินค้า และการนำฝากเช็ค เป็นต้น ทั้งนี้ชีวิตมนุษย์อาจขึ้นกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรืองานการรักษาพยาบาล นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ยังเก็บข้อมูลที่เป็นความลับทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ หรือข้อมูลส่วนบุคคล เช่น แฟ้มข้อมูลบุคลากร แฟ้มข้อมูลที่บันทึกคดีอาญา ข้อมูลที่บันทึกลงในคอมพิวเตอร์ จัดเก็บได้เป็นจำนวนมาก ที่จัดเก็บมีขนาดเล็ก เช่น แผ่นดิสต์ หรือ ฮาร์ดดิสต์ สามารถเรียกใช้หรือดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จัดทำเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูล สามารถติดต่อถึงกันได้ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
               

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์  คือผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ เป็นการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้การเข้าถึงข้อมูล  โดยที่ผู้กระทำไม่ได้รับอนุญาต การลักลอบแก้ไข ทำลาย คัดลอกข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด แม้ไม่ถึงกับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ จรรยาบรรณของการใช้คอมพิวเตอร์นั้นๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
       สาเหตุบางประการที่ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจ
1.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยธรรมชาติจะมีความไม่เป็นส่วนตัว (Impersonal) จึงไม่มีผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึก (Emotion) ของประชาชนโดยทั่วไป และถูกมองข้ามไป
2.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (Theft of Intellectual Property), การโอนเงินโดยผิดกฎหมาย (Unlawful Transfer of Money), การฉ้อโกงด้านการสื่อสาร (Telecommunication Fraud) มีความแตกต่างกับอาชญากรรมแบบดั้งเดิม ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคุ้นเคยและเข้าใจเป็นอย่างดี เช่นการลักทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย อย่างสิ้นเชิง
3.เจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะมองไม่เห็นว่าอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้ เป็นปัญหาที่กระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตน  จึงไม่ให้ความสนใจ
4. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แตกต่างจากอาชญากรรมรุนแรง (Violent Crime) จุดความ รู้สึกให้เกิดอารมณ์ ( Emotion )ในหมู่ชน  จึงทำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความจำเป็นที่จะต้องทุ่มเท สรรพกำลังไปในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมในรูปแบบทั่วไป
5.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งจะทำให้บุคคลที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เกิดความไม่กล้า (Intimidated) ในการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องด้วย
6.บุคคลโดยส่วนมากจะมองอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะมิติเดี่ยว” (Unidimensionally) ในลักษณะสภาวะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ ไป โดยปราศจากการมองให้ลึกซึ้งถึง ผลกระทบ ความรุนแรง การแพร่กระจาย และปริมาณของความเสียหายที่เกิดขึ้น ในการก่ออาชญากรรมแต่ละครั้งนั้น
7.เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ ประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีของอาชญากร มีการพัฒนาที่รวดเร็ว ทำให้ยากต่อการเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ในวงการของอาชญากรรมประเภทนี้
8.ผู้เสียหาย กลับจะตกเป็นผู้ที่ถูกประนามว่า เป็นผู้เปิดช่องโอกาสให้กับอาชญากรในการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ผู้เสียหายมักถูกตำหนิว่าไม่มีการวางระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมกับโครงข่ายงานคอมพิวเตอร์ บางครั้งจึงมักไม่กล้าเปิดเผยว่า ระบบของตนถูกบุกรุกทำลาย
9.ทรัพย์สินทางปัญญาโดยทั่วไปจะไม่สามารถประเมินราคาความเสียหายได้อย่างแน่ชัด  จึงทำให้คนทั่วไปไม่รู้สึกถึงความรุนแรงของอาชญากรรมประเภทนี้
10.พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจไม่มีความรู้ ความชำนาญ หรือ ความสามารถพอเพียงที่จะสอบสวนดำเนินคดีกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
11.บุคคลทั่วไปมักมองเห็นว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  จึงไม่ควรค่าต่อการให้ความสนใจ
12.เจ้าหน้าที่มักใช้ความรู้ความเข้าใจในอาชญากรรมแบบดั้งเดิมนำ มาใช้ในการ สืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามอาชญากรรมแบบดั้งเดิม และถูกมองข้ามไปโดยไม่พบการกระทำผิด
13.เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยทั่วไปไม่มีการเตรียมการเพื่อรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง
14.ในปัจจุบันนี้ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่อาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง  เมื่อเทียบกับอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ หรือ ชีวิตร่างกาย ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ลักษณะของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์    สามารถจำแนกได้ดังนี้
1.พวกหัดใหม่ (Novice)   เป็นพวกที่เพิ่มเริ่มเข้าสู่วงการ, หัดใช้คอมพิวเตอร์ หรือ อาจเป็นพวกที่เพิ่งเข้าสู่ตำแหน่งที่มีอำนาจหรือเพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.พวกจิตวิปริต (Deranged Person) มักเป็นพวกที่มีจิตใจวิปริต  ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกที่ชอบความรุนแรง และอันตราย  มักจะเป็นผู้ที่ชอบทำลายไม่ว่าจะเป็นการทำลายสิ่งของ หรือ บุคคล  เช่น พวก UNA Bomber  เป็นต้น  แต่เนื่องจากจำนวนอาชญากรประเภทนี้มีไม่มากนัก จึงทำให้ผู้รักษากฎหมายไม่ได้ให้ความสนใจ
3.เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชญากรรมในลักษณะองค์กร  (Organized Crime) องค์กรอาชญากรรมจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องมือในการหาข่าวสารเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจทั่วไป  หรืออาจจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์นี้เป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม  หรืออาจใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นี้ในการที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตามไม่ทันอาชญากรรมที่ตนก่อขึ้น
4.พวกมืออาชีพ  (Career Criminal) เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผู้ที่ก่ออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นี้ครั้งแล้วครั้งเล่า  โดยอาชญากรประเภทนี้อาจจะเคยถูกจับกุมในความผิดประเภทนี้มาก่อนแล้ว เป็นพวกที่กระทำผิดโดยสันดาน
5.พวกหัวพัฒนา (Con Artist) เป็นพวกที่ชอบใช้ความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ให้ได้มาเพื่อผลประโยชน์ มาสู่ตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนมีอยู่ในการที่จะหาเงินให้กับตนเองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
6.พวกช่างคิดช่างฝัน  (Ideologues) เป็นพวกที่กระทำผิด เนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง
7.พวก Hacker / Cracker  Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่าตนมีจรรยาบรรณไม่หาประโยชน์จากการบุกรุก และประนามพวก Cracker
                        Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์หรือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย รวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการหาประโยชน์จากการบุกรุก
แนวโน้มอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
สาเหตุบางประการที่ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนสูงขึ้น เนื่องจาก
                1. บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
                2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีราคาต่ำลง
                3. เทคโนโลยีที่มีสมรรถนะสูงขึ้นสามารถนำมาใช้ได้ง่ายขึ้น
                4. คุณค่า และ ราคาของทรัพย์สินทางปัญญาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วบุคคลไม่ว่าจะ ในฐานะส่วนตัวและ/หรือองค์กรธุรกิจอันเป็นนิติบุคล สามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ได้โดยง่าย และ มีจำนวนเครื่องเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
                5. มีบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
                6. สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง
                7. ง่ายกว่าการจารกรรมเอกสารหรือถ่ายเอกสาร
                8. สามารถนำข้อมูลที่อยู่บนแผ่น Diskette ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายกว่า
                9. การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรม ตรวจสอบและจับกุม ยากกว่า
                10. มีช่องโหว่ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย และแนวทางการปฏิบัติ

ประเภทอาชญากรรมด้วยคอมพิวเตอร์    อาจแบ่งได้ ดังนี้
                1.ข้อมูลทางการทหารและข้อมูลทางราชการลับ
                2.จารกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกิจ
                3.จารกรรมเงินและทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์
                4.การโต้ตอบเพื่อล้างแค้น
                5.การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของระบบ หรือหน่วยงานที่ สำคัญ และเสนอข้อมูลที่ผิด

แนวโน้มอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์        ขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้
                1.จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการขยายตัวและการเข้าถึงที่ง่ายขึ้นของระบบเครือข่ายการสื่อสาร
                2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลง และเลียนแบบสินค้า ปลอมเอกสาร ตัดต่อภาพถ่าย จะมีมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
                3.การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการจารกรรมความลับทางอุตสาหกรรม การค้า และสงครามข้อมูลข่าวสาร
                4.มีการเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลแบบไม่ถูกต้องเพื่อกระทำสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาต
                5.กลุ่มอาชญากรและผู้ก่อการร้ายจะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในกิจการของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น




ภัยบนอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กันอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดประโยชน์นานัปการ แต่ในทางกลับกัน กลุ่มผู้คิดในทางไม่ดี ก็ได้ใช้ประโยชน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทั้ง จำนวนความถี่ของคดีที่เกิดขึ้น และความร้ายแรง นอกจากนั้นในด้านความผิดคดีอาญาทั่วไป กลุ่มผู้กระทำผิดก็จะมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาอำนวยความสะดวกในการกระทำผิดมากขึ้น เช่น การใช้ อี-เมล์ ส่งข้อความถึงกัน หรือการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การพนัน ยาเสพติด ฯลฯ
ท่านที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ หรือท่านที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรที่จะรับทราบถึงภัยอันตรายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตไว้ เพื่อที่จะได้ระวังตัวท่านเอง หรือคอยตักเตือนบุตรหลานของท่าน เพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ในส่วนของภัยต่างๆนั้นพอจะยกตัวอย่างได้เป็นกรณีดังนี้
                1. คนขายโทรศัพท์ โกงผู้ซื้อ โดยมีการเสนอขาย โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก ซึ่งอาจอ้างว่าประมูลได้จากกรมศุลกากร ในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ชั้นนำต่างๆ ลูกค้ามักหลงเชื่อ เพราะมีเบอร์โทร.ติดต่อได้ และมี เลขบัญชีธนาคาร หากใครสนใจ โทร.คุยกัน แล้วให้ส่งเงินเข้าบัญชีไปก่อน 25-30% หลังจากนั้น เงียบจ้อย เมื่อจะติดตามคนร้าย ตามหมายเลขโทรศัพท์นั้น ก็กลายเป็นแบบเติมเงิน ไม่ต้องระบุชื่อบุคคล ส่วนบัญชีธนาคารนั้น ก็จะใช้สำเนาบัตรของผู้อื่นไปเปิดบัญชี (ไม่ทราบว่าเปิดได้อย่างไร) กลายเป็นชื่อ นาย ก.นาย ข. คดีแบบนี้มีเยอะมาก เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ของถูกมักจะมีปัญหา ควรไปซื้อตามร้านทั่วไปจะดีกว่า
                2. กรณีคนซื้อหลอกคนขายโทรศัพท์ โดยไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่าต้องการซื้อหลายเครื่อง แล้วนัดให้ไปส่งของ เมื่อผู้ขายขนโทร.ไปตามนัด บางรายก็พาพวกมาปล้นเอาไป บางรายก็พาพวกวิ่งราวเอาไปต่อหน้าต่อตา แล้วทำเป็นไม่รู้เรื่อง
                3. กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ มีการ Copy ลอกเว็บไซต์ผู้อื่นทั้งเว็บ เปลี่ยนแต่เพียง ชื่อเว็บและหมายเลขโทรศัพท์ นอกจากนั้นยังไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่าตัวเองถูก Copy กลายเป็นงั้นไป
                4. บางรายใช้ผมเป็นเครื่องมือ โดยการมาแจ้งความกับผมว่า ได้ซื้อบัญชีชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตมา 10,000 บาท แต่ได้ถูกคนอื่นเอาไปใช้จนหมด โดยมีคนนำ เลขประจำผู้ใช้ และระหัสลับ ไปเขียนไว้ในเว็บบอร์ด เด็กทั้งหลายที่ทราบก็ใช้กันสนุกมือ ผมจึงต้องช่วยตรวจสอบให้ จนได้รายชื่อหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่แอบเอาไปใช้ 20 กว่าราย หลังจากนั้นเจ้าตัวที่มาแจ้งกับผม ก็ไปสืบว่า แต่ละบ้านมีฐานะอย่างไร หากมีฐานะหน่อย ก็จะเข้าไปเจรจากับพ่อแม่ ว่าลูกคุณขโมยค่าใช้อินเทอร์เน็ตของเขาไป ก็จะเรียกร้องค่าเสียหาย รายละ 5,000 บ้าง 10,000 บ้าง ซึ่งพ่อแม่ทุกคนก็ไม่อยากให้ลูกหลานของตนมีคดีติดตัวตั้งแต่เด็ก มักจะยอมจ่ายไปด้วยดี ทราบมาว่า เจ้าทุกข์? ของผมรายนี้ ได้เงินไป มากกว่า 50,000 บาท ผมเองก็เจ็บใจที่ตกเป็นเครื่องมือของเขา เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ของฟรีไม่มีในโลก และตำรวจก็อาจถูกหลอกใช้ได้
              5. สาวขายบริการ เขียนไว้ในเว็บบอร์ด เมื่อหนุ่มรายใดสนใจ ก็จะนัดให้ชายหนุ่ม มาใช้บริการที่บ้านตน อ้างว่าเพื่อประหยัดค่า โรงแรม ต่อมาแจ้งจับข้อหาบุกรุกและกระทำอนาจาร ส่วนอีกรายหนึ่งไม่อยากไปที่บ้าน ยอมเสียค่าโรงแรม เมื่อสาวขายบริการ เข้าโรงแรมกับลูกค้าแล้ว ก็จะแอบกินยานอนหลับ ขณะที่ แฟนหนุ่ม พาตำรวจมาจับกุม อ้างว่าถูก มอมยา จะถูกข่มขืน แต่ก็จะมีการเจรจาต่อรอง ตามแต่ฐานะของเหยื่อ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ควรใช้บริการจากสาวบนเน็ต รีบกลับไปบ้านใครบ้านมันจะดีกว่า ไม่ต้องเสียเงิน ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดโรค
                6. มีนักศึกษาคนหนึ่ง Chat กับคนบนเน็ต เขาเล่าว่าเขาก็เป็นนักศึกษา ร้อนเงินมากจะให้พ่อที่ต่างจังหวัดส่งเงินมาให้ แต่ทำบัตร ATM หาย จึงเอ่ยปากขอยืมบัตร ATM ใช้สัก 2-3 วัน เจ้าของบัตรเดิมก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะตัวเองมีเงินอยู่ในบัญชี ร้อยกว่าบาท จึงนัดเจอกันแล้วให้บัตรไป ต่อมาคนที่ยืมบัตรไป ก็นำเลขบัญชีนั้นไปใช้หลอกขายโทรศัพท์มือถือ เพียง 10 วันก็ได้กดเงินไปกว่าสองแสนบาท เมื่อเจ้าทุกข์ที่ถูกหลอกเงินได้แจ้งความ และในที่สุดก็สืบมาถึงนักศึกษาเจ้าของบัตร เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าไว้ใจใครที่พบบนอินเทอร์เน็ต
                7. ลูกศิษย์ชั้น ม.6 โกรธที่อาจารย์ดุด่า จึงไปเขียนในเว็บบอร์ดว่า อาจารย์ผู้ชายท่านนั้น เป็นเอเยนต์สาวขายบริการ พร้อมบอกเบอร์มือถือของอาจารย์ไปด้วย นอกจากนั้น ยังไปเขียนที่เว็บบอร์ดอีกแห่งหนึ่งว่า ภรรยาของอาจารย์ เหงาจัง อยากมีคู่นอน พร้อมกับให้เบอร์ที่บ้านของอาจารย์ งานนี้ทั้งอาจารย์และภรรยา ต้องคอยรับโทรศัพท์ทั้งวันทั้งคืน จนในที่สุดต้องไปขอเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ทั้งที่บ้านและมือถือใหม่หมด

                ที่เล่ามาให้ฟังนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ตนั้นความจริงแล้วมีประโยชน์ต่อเราเป็นอย่างมาก แต่ก็ควรระวังถึงภัยและผลร้ายที่มากับมันไว้ด้วย แต่ก็ไม่ควรกลัวจนจะไม่ใช้มันซะเลย เพราะเหตุว่า ไม่ว่าเราจะหนีมันอย่างไร ก็จะหนีไม่พ้น เพราะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต นั้นมันมาแล้ว และนับวันมันจะมีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากเพิ่มขึ้น ดังนั้น เราจึงควรทำความรู้จักกับมัน เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของคนร้ายที่จะใช้เทคโนโลยีอันนี้มาทำร้ายเรา



การป้องกันภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต
ศิลปะป้องกันตัว 7 ประการ สำหรับ เยาวชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน  ที่ทำงาน หรือเบอร์ที่ทำงาน เลขบัตรเครดิต ของตนเองและผู้ปกครอง ให้แก่บุคคลอื่น ที่รู้จักทาง อินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน
2. แจ้งให้ผู้ปกครอง ทราบโดยทันที หากพบข้อมูล หรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่ หยาบคาย หรือ ไม่เหมาะสม โดยประการทั้งปวง
3. ไม่ไปพบ บุคคลใดก็ตาม ที่ได้รู้จักทาง อินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาต จากผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ให้ไปพบบุคคลนั้นได้ ก็จะไปพบเขา ในที่สาธารณะ ซึ่งมีคนผ่านไปมา โดยมีผู้ปกครอง ไปด้วย
4. ไม่ส่งรูป เงิน หรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่น ที่รู้จักทาง อินเทอร์เน็ต โดยมิได้ขออนุญาตจาก ผู้ปกครอง ก่อน
5. ไม่ตอบคำถาม หรือตอบโต้ กับผู้ที่สื่อข้อความ หยาบคาย หรือไม่เหมาะสม และต้องแจ้งให้ ผู้ปกครอง ทราบโดยทันที
6. เคารพต่อข้อตกลงอื่นๆ ที่ให้ไว้กับ ผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลา ที่จะใช้ อินเทอร์เน็ต , เว็บไซต์ ที่จะเข้าไปได้ และข้อตกลงอื่นๆ อย่างเคร่งครัด
7. ไม่พยายาม หลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ ทั้งหมดข้างต้น ไม่ว่าในกรณีใด
แนวทาง 4 ประการ สำหรับ ผู้ปกครอง ของเยาวชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1. ใช้เวลาเล่น อินเทอร์เน็ต ด้วยกันกับ บุตรหลาน เพื่อเรียนรู้ว่า เขาใช้ อินเทอร์เน็ต ไปในทางใด และมีความสนใจในเรื่องใด
2. สอนให้ บุตรหลาน รู้ถึงศิลปะป้องกันตัว ทั้ง 7 ประการ สำหรับ เยาวชน ที่ใช้อินเทอร์เน็ต
3. พูดคุย ทำความเข้าใจ กับบุตรหลาน เกี่ยวกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ของเขา เช่น เวลาที่ใช้ได้ จำนวนชั่วโมง ที่ให้ใช้ได้ ประเภทของเว็บไซต์ หรือกิจกรรมทาง อินเทอร์เน็ต ที่เข้าร่วมได้ เป็นต้น
4. ควรวาง คอมพิวเตอร์ ที่บุตรหลานใช้ ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะ วางไว้ใน ห้องนอน หรือห้องส่วนตัว ของเขา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น