รักทุกฤดู

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ข่ายงานสื่อสารข้อมูล

 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        เครือข่าย (network) ในทางสื่อสารโทรคมนาคมมีหลายชนิดด้วยกันซึ่งเครือข่ายแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในส่วนต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการต่อคอมพิวเตอร์หลายตัวให้ถึงกันโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า media และใช้โปรแกรมจัดการ เรียกว่า Network Operating System (NOS)   เป็นตัวควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละตัว
     
องค์ประกอบของเครือข่าย
         องค์ประกอบพื้นฐานของ เครือข่าย มีดังนี้
            1. สิ่งที่ให้บริการเครือข่าย (service provider)
            2. สิ่งที่ใช้บริการเครือข่าย (service user)
            3.ตัวกลางที่ทำให้ device สามารถสื่อสารกันได้ (communication facilitators)

   server provide service
         เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่า ผู้ให้บริการบนเครือข่าย มักจะถูกเรียกว่า server ขึ้นอยู่กับว่า server ตัวนั้นให้บริการอะไรถ้า  server  นั้นให้บริการ  file  จะถูกเรียกว่า  file server หรือ  server นั้น ให้บริการด้านงานพิมพ์ก็จะถูกเรียกว่า printer server ดังนั้นการให้บริการพื้นฐานของเครือข่าย จึงมี 3 บริการคือ
            1.ให้บริการการใช้งาน files ร่วมกัน (sharing access to file)
            2.ให้บริการการใช้งาน printer ร่วมกัน
            3.ให้บริการการใช้งาน device อื่นๆ ร่วมกัน เช่น MODEM, FAX ก็เรียกว่า FAX service
         peer  to  peer  network เป็นการ  share   file  และ printer สามารถทำได้บนเครือข่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า peer to peer ซึ่งเครือข่ายแบบนี้สามารถที่จะ  share  hard  disk  และ printer ของ  device ทุกตัวที่ต่อถึงกันแต่ เครือข่ายแบบนี้ก็มีข้อเสีย  คือ   ไม่มีตัวกลางสำหรับเก็บข้อมูล  user  และ ระบบ security dedicate server เป็น centralized server ทำหน้าที่ให้บริการ file หรือ printer โดยเฉพาะ

         CLIENT USE SERVICE
          client แปลว่าการร้องขอ  client เป็นตัวขอใช้บริการ file และ printer จาก server  ซึ่งโดยปกติ client จะเป็น computer ที่สามารถต่อเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายได้และการใช้งานคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายที่มีตัวร้องขอใช้บริการและตัวให้บริการเราจึงเรียกระบบนี้ว่า client/server computing

ประเภทของเครือข่าย

         เครือข่ายแบ่งตามระยะทางของการติดต่อ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

        1
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)
         เป็นเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารสำนักงานในคลังสินค้า หรือในโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลทำได้ ด้วยความ เร็วสูงและมีข้อผิดพลาดน้อย   LAN  จึงออกแบบมาเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการ   ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

        2
เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network: WAN)
         เครือข่ายระยะไกล หรือ internetworking  เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น เครือข่ายที่ติดตั้งไปยังต่างจังหวัด , ต่างประเทศ และทั่วโลก

        3
ข้อเปรียบเทียบ client/server computing และ terminal/host computing
         ในสมัยก่อนที่มีการใช้งานเครือข่ายแบบ  terminal/host computing  ตัว terminal จะเป็นตัวรับ input จาก user และแสดงผลให้แก่ user แต่เพียงเท่านั้น ไม่มีการคำนวณหรือ  process  อื่น ๆ บน terminal  เลยการคำนวณ และการ process ต่างๆ ที่จะทำบน central mainframe ทั้งหมด
        - ยุคสมัยของ client/server   computing   ในตัว   client   จะมีความสามารถพอที่จะทำการคำนวณและ process  หรือ run application ได้บนตัว   client   จึงเป็นการแบ่งเบาภาระไป และไม่ทำให้งานไปหนักอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง
        - client ถ้าใน netware จะเรียกว่า work station

        4 Communication media interconnect server and client
         ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง server และ client ให้เกิดการสื่อสารถึงกันได้เรียกว่า medium หรือ media ตัวอย่างของ medium ก็ได้แก่ copper cable, fiber optic cable, micro wave link, หรือ satellite link เป็นต้น

  NOS คืออะไร
        NOS คือ software ที่ run อยู่บนเครือข่าย เพื่อควบคุมการทำงานของ device ต่างๆ บนเครือข่ายซึ่ง NOS ที่ดีต้องมีความสามารถในการให้บริการ files และ printers แล้วยังต้องสามารถให้บริการ user ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันด้วย (multi tasking, multi user) นอกจากนั้น NOS ยังต้องให้บริการด้านความปลอดภัยของข้อมูลภายในเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างของ NOS เช่น windows NT server, NOVELL netware, windows XP, windows 2000 เป็นต้น

                Other server service
                 การบริการอื่นๆ ของ server อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
                 1. mail server ทำหน้าที่ให้ user สามารถ เปลี่ยน (ส่ง และ รับ) electronic mail ระหว่างกันได้
                 2. MODEM server ทำให้ user สามารถใช้ MODEM ส่วนกลางร่วมกันได้โดยไม่ต้องซื้อ MODEM หลาย ๆ ตัวสำหรับหลาย user
                3. FAX server ทำให้ user สามารถส่ง FAX ได้จาก application โดยไม่ต้องพิมพ์ออกมาให้สิ้นเปลืองกระดาษ และใช้ FAX ส่วนร่วมเพื่อประหยัดงบประมาณ
          4. gateway server ทำหน้าที่ communicate กับ main frame หรือ mini computer หรือเครือข่ายภายในอินเตอร์เนทเป็นต้น

        
รูปแบบอ้างอิง OSI (OSI refference model) Open System Interconnection (OSI) เป็น MODEL ที่พัฒนาขึ้นมาโดย International Standard Organization (ISO) OSI เป็นโครงสร้างที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับเปรียบเทียบเครือข่าย ทางทฤษฎี OSI model แบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ดังรูปที่ 1.1 แต่ละเลเยอร์นั้นจะประกอบกันเป็นพื้นฐานเพื่อเป็นแนวความคิดในการออกแบบระบบ และการนำระบบไปใช้งาน ซึ่ง OSI model จะอธิบายกระบวนการติดต่อสื่อสารตามลำดับชั้นของแต่ละเลเยอร์ และแต่ละเลเยอร์ จะกำหนดการติดต่อกับเลเยอร์ที่ติดกัน ซึ่งการติดต่อเหล่านั้นมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้ผู้ออกแบบระบบใช้โปรโตคอลได้หลายแบบโดยที่ระบบยังอยู่ในมาตรฐาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการออกแบบทาง hardware และ software ตามโครงสร้างมาตรฐานนี้สามารถต่อเป็นเครือข่ายร่วมกัน และติดต่อสื่อสารกันได้

หลักเกณฑ์ที่ใช้แบ่งเลเยอร์ใน OSI
                   จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSI ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้าง ของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็น เลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนด รูปแบบการอินเตอร์เฟสของเลเยอร์ด้วย เหตุผลที่ต้องแบ่งเลเยอร์ทั้งหมดให้มี 7 เลเยอร์นั้น องค์การ ISO ได้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
                       1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ๆ มากจนเกินไป
                       2. แต่ละเลเยอร์จะต้องมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
                       3. จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
                       4. เลือกเฉพาะส่วนการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
                       5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลง โปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้ สถาปัตยกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม
                       6. กำหนดอินเตอร์เฟสมาตรฐาน
                       7. ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
                       8. สำหรับเลเยอร์ย่อยของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น