รักทุกฤดู

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ข่ายงานสื่อสารข้อมูล

 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        เครือข่าย (network) ในทางสื่อสารโทรคมนาคมมีหลายชนิดด้วยกันซึ่งเครือข่ายแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในส่วนต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการต่อคอมพิวเตอร์หลายตัวให้ถึงกันโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า media และใช้โปรแกรมจัดการ เรียกว่า Network Operating System (NOS)   เป็นตัวควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละตัว
     
องค์ประกอบของเครือข่าย
         องค์ประกอบพื้นฐานของ เครือข่าย มีดังนี้
            1. สิ่งที่ให้บริการเครือข่าย (service provider)
            2. สิ่งที่ใช้บริการเครือข่าย (service user)
            3.ตัวกลางที่ทำให้ device สามารถสื่อสารกันได้ (communication facilitators)

   server provide service
         เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่า ผู้ให้บริการบนเครือข่าย มักจะถูกเรียกว่า server ขึ้นอยู่กับว่า server ตัวนั้นให้บริการอะไรถ้า  server  นั้นให้บริการ  file  จะถูกเรียกว่า  file server หรือ  server นั้น ให้บริการด้านงานพิมพ์ก็จะถูกเรียกว่า printer server ดังนั้นการให้บริการพื้นฐานของเครือข่าย จึงมี 3 บริการคือ
            1.ให้บริการการใช้งาน files ร่วมกัน (sharing access to file)
            2.ให้บริการการใช้งาน printer ร่วมกัน
            3.ให้บริการการใช้งาน device อื่นๆ ร่วมกัน เช่น MODEM, FAX ก็เรียกว่า FAX service
         peer  to  peer  network เป็นการ  share   file  และ printer สามารถทำได้บนเครือข่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า peer to peer ซึ่งเครือข่ายแบบนี้สามารถที่จะ  share  hard  disk  และ printer ของ  device ทุกตัวที่ต่อถึงกันแต่ เครือข่ายแบบนี้ก็มีข้อเสีย  คือ   ไม่มีตัวกลางสำหรับเก็บข้อมูล  user  และ ระบบ security dedicate server เป็น centralized server ทำหน้าที่ให้บริการ file หรือ printer โดยเฉพาะ

         CLIENT USE SERVICE
          client แปลว่าการร้องขอ  client เป็นตัวขอใช้บริการ file และ printer จาก server  ซึ่งโดยปกติ client จะเป็น computer ที่สามารถต่อเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายได้และการใช้งานคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายที่มีตัวร้องขอใช้บริการและตัวให้บริการเราจึงเรียกระบบนี้ว่า client/server computing

ประเภทของเครือข่าย

         เครือข่ายแบ่งตามระยะทางของการติดต่อ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

        1
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)
         เป็นเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารสำนักงานในคลังสินค้า หรือในโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลทำได้ ด้วยความ เร็วสูงและมีข้อผิดพลาดน้อย   LAN  จึงออกแบบมาเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการ   ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

        2
เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network: WAN)
         เครือข่ายระยะไกล หรือ internetworking  เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น เครือข่ายที่ติดตั้งไปยังต่างจังหวัด , ต่างประเทศ และทั่วโลก

        3
ข้อเปรียบเทียบ client/server computing และ terminal/host computing
         ในสมัยก่อนที่มีการใช้งานเครือข่ายแบบ  terminal/host computing  ตัว terminal จะเป็นตัวรับ input จาก user และแสดงผลให้แก่ user แต่เพียงเท่านั้น ไม่มีการคำนวณหรือ  process  อื่น ๆ บน terminal  เลยการคำนวณ และการ process ต่างๆ ที่จะทำบน central mainframe ทั้งหมด
        - ยุคสมัยของ client/server   computing   ในตัว   client   จะมีความสามารถพอที่จะทำการคำนวณและ process  หรือ run application ได้บนตัว   client   จึงเป็นการแบ่งเบาภาระไป และไม่ทำให้งานไปหนักอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง
        - client ถ้าใน netware จะเรียกว่า work station

        4 Communication media interconnect server and client
         ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง server และ client ให้เกิดการสื่อสารถึงกันได้เรียกว่า medium หรือ media ตัวอย่างของ medium ก็ได้แก่ copper cable, fiber optic cable, micro wave link, หรือ satellite link เป็นต้น

  NOS คืออะไร
        NOS คือ software ที่ run อยู่บนเครือข่าย เพื่อควบคุมการทำงานของ device ต่างๆ บนเครือข่ายซึ่ง NOS ที่ดีต้องมีความสามารถในการให้บริการ files และ printers แล้วยังต้องสามารถให้บริการ user ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันด้วย (multi tasking, multi user) นอกจากนั้น NOS ยังต้องให้บริการด้านความปลอดภัยของข้อมูลภายในเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างของ NOS เช่น windows NT server, NOVELL netware, windows XP, windows 2000 เป็นต้น

                Other server service
                 การบริการอื่นๆ ของ server อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
                 1. mail server ทำหน้าที่ให้ user สามารถ เปลี่ยน (ส่ง และ รับ) electronic mail ระหว่างกันได้
                 2. MODEM server ทำให้ user สามารถใช้ MODEM ส่วนกลางร่วมกันได้โดยไม่ต้องซื้อ MODEM หลาย ๆ ตัวสำหรับหลาย user
                3. FAX server ทำให้ user สามารถส่ง FAX ได้จาก application โดยไม่ต้องพิมพ์ออกมาให้สิ้นเปลืองกระดาษ และใช้ FAX ส่วนร่วมเพื่อประหยัดงบประมาณ
          4. gateway server ทำหน้าที่ communicate กับ main frame หรือ mini computer หรือเครือข่ายภายในอินเตอร์เนทเป็นต้น

        
รูปแบบอ้างอิง OSI (OSI refference model) Open System Interconnection (OSI) เป็น MODEL ที่พัฒนาขึ้นมาโดย International Standard Organization (ISO) OSI เป็นโครงสร้างที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับเปรียบเทียบเครือข่าย ทางทฤษฎี OSI model แบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ดังรูปที่ 1.1 แต่ละเลเยอร์นั้นจะประกอบกันเป็นพื้นฐานเพื่อเป็นแนวความคิดในการออกแบบระบบ และการนำระบบไปใช้งาน ซึ่ง OSI model จะอธิบายกระบวนการติดต่อสื่อสารตามลำดับชั้นของแต่ละเลเยอร์ และแต่ละเลเยอร์ จะกำหนดการติดต่อกับเลเยอร์ที่ติดกัน ซึ่งการติดต่อเหล่านั้นมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้ผู้ออกแบบระบบใช้โปรโตคอลได้หลายแบบโดยที่ระบบยังอยู่ในมาตรฐาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการออกแบบทาง hardware และ software ตามโครงสร้างมาตรฐานนี้สามารถต่อเป็นเครือข่ายร่วมกัน และติดต่อสื่อสารกันได้

หลักเกณฑ์ที่ใช้แบ่งเลเยอร์ใน OSI
                   จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSI ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้าง ของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็น เลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนด รูปแบบการอินเตอร์เฟสของเลเยอร์ด้วย เหตุผลที่ต้องแบ่งเลเยอร์ทั้งหมดให้มี 7 เลเยอร์นั้น องค์การ ISO ได้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
                       1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ๆ มากจนเกินไป
                       2. แต่ละเลเยอร์จะต้องมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
                       3. จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
                       4. เลือกเฉพาะส่วนการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
                       5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลง โปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้ สถาปัตยกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม
                       6. กำหนดอินเตอร์เฟสมาตรฐาน
                       7. ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
                       8. สำหรับเลเยอร์ย่อยของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                สิ่งใดมีคุณอนันต์ย่อมมีโทษมหันต์ กิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ของมนุษย์ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ สาระและเวลาที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ ATM  และการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยการเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ เช่น การทอนและนับเงิน การบันทึกการให้บริการ การออกใบเรียกเก็บเงิน การสั่งซื้อสินค้า และการนำฝากเช็ค เป็นต้น ทั้งนี้ชีวิตมนุษย์อาจขึ้นกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรืองานการรักษาพยาบาล นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ยังเก็บข้อมูลที่เป็นความลับทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ หรือข้อมูลส่วนบุคคล เช่น แฟ้มข้อมูลบุคลากร แฟ้มข้อมูลที่บันทึกคดีอาญา ข้อมูลที่บันทึกลงในคอมพิวเตอร์ จัดเก็บได้เป็นจำนวนมาก ที่จัดเก็บมีขนาดเล็ก เช่น แผ่นดิสต์ หรือ ฮาร์ดดิสต์ สามารถเรียกใช้หรือดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จัดทำเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูล สามารถติดต่อถึงกันได้ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
               

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์  คือผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ เป็นการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้การเข้าถึงข้อมูล  โดยที่ผู้กระทำไม่ได้รับอนุญาต การลักลอบแก้ไข ทำลาย คัดลอกข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด แม้ไม่ถึงกับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ จรรยาบรรณของการใช้คอมพิวเตอร์นั้นๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
       สาเหตุบางประการที่ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจ
1.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยธรรมชาติจะมีความไม่เป็นส่วนตัว (Impersonal) จึงไม่มีผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึก (Emotion) ของประชาชนโดยทั่วไป และถูกมองข้ามไป
2.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (Theft of Intellectual Property), การโอนเงินโดยผิดกฎหมาย (Unlawful Transfer of Money), การฉ้อโกงด้านการสื่อสาร (Telecommunication Fraud) มีความแตกต่างกับอาชญากรรมแบบดั้งเดิม ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคุ้นเคยและเข้าใจเป็นอย่างดี เช่นการลักทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย อย่างสิ้นเชิง
3.เจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะมองไม่เห็นว่าอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้ เป็นปัญหาที่กระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตน  จึงไม่ให้ความสนใจ
4. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แตกต่างจากอาชญากรรมรุนแรง (Violent Crime) จุดความ รู้สึกให้เกิดอารมณ์ ( Emotion )ในหมู่ชน  จึงทำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความจำเป็นที่จะต้องทุ่มเท สรรพกำลังไปในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมในรูปแบบทั่วไป
5.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งจะทำให้บุคคลที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เกิดความไม่กล้า (Intimidated) ในการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องด้วย
6.บุคคลโดยส่วนมากจะมองอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะมิติเดี่ยว” (Unidimensionally) ในลักษณะสภาวะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ ไป โดยปราศจากการมองให้ลึกซึ้งถึง ผลกระทบ ความรุนแรง การแพร่กระจาย และปริมาณของความเสียหายที่เกิดขึ้น ในการก่ออาชญากรรมแต่ละครั้งนั้น
7.เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ ประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีของอาชญากร มีการพัฒนาที่รวดเร็ว ทำให้ยากต่อการเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ในวงการของอาชญากรรมประเภทนี้
8.ผู้เสียหาย กลับจะตกเป็นผู้ที่ถูกประนามว่า เป็นผู้เปิดช่องโอกาสให้กับอาชญากรในการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ผู้เสียหายมักถูกตำหนิว่าไม่มีการวางระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมกับโครงข่ายงานคอมพิวเตอร์ บางครั้งจึงมักไม่กล้าเปิดเผยว่า ระบบของตนถูกบุกรุกทำลาย
9.ทรัพย์สินทางปัญญาโดยทั่วไปจะไม่สามารถประเมินราคาความเสียหายได้อย่างแน่ชัด  จึงทำให้คนทั่วไปไม่รู้สึกถึงความรุนแรงของอาชญากรรมประเภทนี้
10.พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจไม่มีความรู้ ความชำนาญ หรือ ความสามารถพอเพียงที่จะสอบสวนดำเนินคดีกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
11.บุคคลทั่วไปมักมองเห็นว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  จึงไม่ควรค่าต่อการให้ความสนใจ
12.เจ้าหน้าที่มักใช้ความรู้ความเข้าใจในอาชญากรรมแบบดั้งเดิมนำ มาใช้ในการ สืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามอาชญากรรมแบบดั้งเดิม และถูกมองข้ามไปโดยไม่พบการกระทำผิด
13.เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยทั่วไปไม่มีการเตรียมการเพื่อรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง
14.ในปัจจุบันนี้ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่อาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง  เมื่อเทียบกับอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ หรือ ชีวิตร่างกาย ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ลักษณะของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์    สามารถจำแนกได้ดังนี้
1.พวกหัดใหม่ (Novice)   เป็นพวกที่เพิ่มเริ่มเข้าสู่วงการ, หัดใช้คอมพิวเตอร์ หรือ อาจเป็นพวกที่เพิ่งเข้าสู่ตำแหน่งที่มีอำนาจหรือเพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.พวกจิตวิปริต (Deranged Person) มักเป็นพวกที่มีจิตใจวิปริต  ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกที่ชอบความรุนแรง และอันตราย  มักจะเป็นผู้ที่ชอบทำลายไม่ว่าจะเป็นการทำลายสิ่งของ หรือ บุคคล  เช่น พวก UNA Bomber  เป็นต้น  แต่เนื่องจากจำนวนอาชญากรประเภทนี้มีไม่มากนัก จึงทำให้ผู้รักษากฎหมายไม่ได้ให้ความสนใจ
3.เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชญากรรมในลักษณะองค์กร  (Organized Crime) องค์กรอาชญากรรมจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องมือในการหาข่าวสารเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจทั่วไป  หรืออาจจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์นี้เป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม  หรืออาจใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นี้ในการที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตามไม่ทันอาชญากรรมที่ตนก่อขึ้น
4.พวกมืออาชีพ  (Career Criminal) เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผู้ที่ก่ออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นี้ครั้งแล้วครั้งเล่า  โดยอาชญากรประเภทนี้อาจจะเคยถูกจับกุมในความผิดประเภทนี้มาก่อนแล้ว เป็นพวกที่กระทำผิดโดยสันดาน
5.พวกหัวพัฒนา (Con Artist) เป็นพวกที่ชอบใช้ความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ให้ได้มาเพื่อผลประโยชน์ มาสู่ตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนมีอยู่ในการที่จะหาเงินให้กับตนเองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
6.พวกช่างคิดช่างฝัน  (Ideologues) เป็นพวกที่กระทำผิด เนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง
7.พวก Hacker / Cracker  Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่าตนมีจรรยาบรรณไม่หาประโยชน์จากการบุกรุก และประนามพวก Cracker
                        Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์หรือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย รวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการหาประโยชน์จากการบุกรุก
แนวโน้มอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
สาเหตุบางประการที่ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนสูงขึ้น เนื่องจาก
                1. บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
                2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีราคาต่ำลง
                3. เทคโนโลยีที่มีสมรรถนะสูงขึ้นสามารถนำมาใช้ได้ง่ายขึ้น
                4. คุณค่า และ ราคาของทรัพย์สินทางปัญญาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วบุคคลไม่ว่าจะ ในฐานะส่วนตัวและ/หรือองค์กรธุรกิจอันเป็นนิติบุคล สามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ได้โดยง่าย และ มีจำนวนเครื่องเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
                5. มีบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
                6. สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง
                7. ง่ายกว่าการจารกรรมเอกสารหรือถ่ายเอกสาร
                8. สามารถนำข้อมูลที่อยู่บนแผ่น Diskette ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายกว่า
                9. การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรม ตรวจสอบและจับกุม ยากกว่า
                10. มีช่องโหว่ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย และแนวทางการปฏิบัติ

ประเภทอาชญากรรมด้วยคอมพิวเตอร์    อาจแบ่งได้ ดังนี้
                1.ข้อมูลทางการทหารและข้อมูลทางราชการลับ
                2.จารกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกิจ
                3.จารกรรมเงินและทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์
                4.การโต้ตอบเพื่อล้างแค้น
                5.การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของระบบ หรือหน่วยงานที่ สำคัญ และเสนอข้อมูลที่ผิด

แนวโน้มอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์        ขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้
                1.จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการขยายตัวและการเข้าถึงที่ง่ายขึ้นของระบบเครือข่ายการสื่อสาร
                2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลง และเลียนแบบสินค้า ปลอมเอกสาร ตัดต่อภาพถ่าย จะมีมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
                3.การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการจารกรรมความลับทางอุตสาหกรรม การค้า และสงครามข้อมูลข่าวสาร
                4.มีการเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลแบบไม่ถูกต้องเพื่อกระทำสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาต
                5.กลุ่มอาชญากรและผู้ก่อการร้ายจะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในกิจการของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น




ภัยบนอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กันอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดประโยชน์นานัปการ แต่ในทางกลับกัน กลุ่มผู้คิดในทางไม่ดี ก็ได้ใช้ประโยชน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทั้ง จำนวนความถี่ของคดีที่เกิดขึ้น และความร้ายแรง นอกจากนั้นในด้านความผิดคดีอาญาทั่วไป กลุ่มผู้กระทำผิดก็จะมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาอำนวยความสะดวกในการกระทำผิดมากขึ้น เช่น การใช้ อี-เมล์ ส่งข้อความถึงกัน หรือการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การพนัน ยาเสพติด ฯลฯ
ท่านที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ หรือท่านที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรที่จะรับทราบถึงภัยอันตรายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตไว้ เพื่อที่จะได้ระวังตัวท่านเอง หรือคอยตักเตือนบุตรหลานของท่าน เพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ในส่วนของภัยต่างๆนั้นพอจะยกตัวอย่างได้เป็นกรณีดังนี้
                1. คนขายโทรศัพท์ โกงผู้ซื้อ โดยมีการเสนอขาย โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก ซึ่งอาจอ้างว่าประมูลได้จากกรมศุลกากร ในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ชั้นนำต่างๆ ลูกค้ามักหลงเชื่อ เพราะมีเบอร์โทร.ติดต่อได้ และมี เลขบัญชีธนาคาร หากใครสนใจ โทร.คุยกัน แล้วให้ส่งเงินเข้าบัญชีไปก่อน 25-30% หลังจากนั้น เงียบจ้อย เมื่อจะติดตามคนร้าย ตามหมายเลขโทรศัพท์นั้น ก็กลายเป็นแบบเติมเงิน ไม่ต้องระบุชื่อบุคคล ส่วนบัญชีธนาคารนั้น ก็จะใช้สำเนาบัตรของผู้อื่นไปเปิดบัญชี (ไม่ทราบว่าเปิดได้อย่างไร) กลายเป็นชื่อ นาย ก.นาย ข. คดีแบบนี้มีเยอะมาก เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ของถูกมักจะมีปัญหา ควรไปซื้อตามร้านทั่วไปจะดีกว่า
                2. กรณีคนซื้อหลอกคนขายโทรศัพท์ โดยไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่าต้องการซื้อหลายเครื่อง แล้วนัดให้ไปส่งของ เมื่อผู้ขายขนโทร.ไปตามนัด บางรายก็พาพวกมาปล้นเอาไป บางรายก็พาพวกวิ่งราวเอาไปต่อหน้าต่อตา แล้วทำเป็นไม่รู้เรื่อง
                3. กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ มีการ Copy ลอกเว็บไซต์ผู้อื่นทั้งเว็บ เปลี่ยนแต่เพียง ชื่อเว็บและหมายเลขโทรศัพท์ นอกจากนั้นยังไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่าตัวเองถูก Copy กลายเป็นงั้นไป
                4. บางรายใช้ผมเป็นเครื่องมือ โดยการมาแจ้งความกับผมว่า ได้ซื้อบัญชีชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตมา 10,000 บาท แต่ได้ถูกคนอื่นเอาไปใช้จนหมด โดยมีคนนำ เลขประจำผู้ใช้ และระหัสลับ ไปเขียนไว้ในเว็บบอร์ด เด็กทั้งหลายที่ทราบก็ใช้กันสนุกมือ ผมจึงต้องช่วยตรวจสอบให้ จนได้รายชื่อหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่แอบเอาไปใช้ 20 กว่าราย หลังจากนั้นเจ้าตัวที่มาแจ้งกับผม ก็ไปสืบว่า แต่ละบ้านมีฐานะอย่างไร หากมีฐานะหน่อย ก็จะเข้าไปเจรจากับพ่อแม่ ว่าลูกคุณขโมยค่าใช้อินเทอร์เน็ตของเขาไป ก็จะเรียกร้องค่าเสียหาย รายละ 5,000 บ้าง 10,000 บ้าง ซึ่งพ่อแม่ทุกคนก็ไม่อยากให้ลูกหลานของตนมีคดีติดตัวตั้งแต่เด็ก มักจะยอมจ่ายไปด้วยดี ทราบมาว่า เจ้าทุกข์? ของผมรายนี้ ได้เงินไป มากกว่า 50,000 บาท ผมเองก็เจ็บใจที่ตกเป็นเครื่องมือของเขา เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ของฟรีไม่มีในโลก และตำรวจก็อาจถูกหลอกใช้ได้
              5. สาวขายบริการ เขียนไว้ในเว็บบอร์ด เมื่อหนุ่มรายใดสนใจ ก็จะนัดให้ชายหนุ่ม มาใช้บริการที่บ้านตน อ้างว่าเพื่อประหยัดค่า โรงแรม ต่อมาแจ้งจับข้อหาบุกรุกและกระทำอนาจาร ส่วนอีกรายหนึ่งไม่อยากไปที่บ้าน ยอมเสียค่าโรงแรม เมื่อสาวขายบริการ เข้าโรงแรมกับลูกค้าแล้ว ก็จะแอบกินยานอนหลับ ขณะที่ แฟนหนุ่ม พาตำรวจมาจับกุม อ้างว่าถูก มอมยา จะถูกข่มขืน แต่ก็จะมีการเจรจาต่อรอง ตามแต่ฐานะของเหยื่อ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ควรใช้บริการจากสาวบนเน็ต รีบกลับไปบ้านใครบ้านมันจะดีกว่า ไม่ต้องเสียเงิน ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดโรค
                6. มีนักศึกษาคนหนึ่ง Chat กับคนบนเน็ต เขาเล่าว่าเขาก็เป็นนักศึกษา ร้อนเงินมากจะให้พ่อที่ต่างจังหวัดส่งเงินมาให้ แต่ทำบัตร ATM หาย จึงเอ่ยปากขอยืมบัตร ATM ใช้สัก 2-3 วัน เจ้าของบัตรเดิมก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะตัวเองมีเงินอยู่ในบัญชี ร้อยกว่าบาท จึงนัดเจอกันแล้วให้บัตรไป ต่อมาคนที่ยืมบัตรไป ก็นำเลขบัญชีนั้นไปใช้หลอกขายโทรศัพท์มือถือ เพียง 10 วันก็ได้กดเงินไปกว่าสองแสนบาท เมื่อเจ้าทุกข์ที่ถูกหลอกเงินได้แจ้งความ และในที่สุดก็สืบมาถึงนักศึกษาเจ้าของบัตร เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าไว้ใจใครที่พบบนอินเทอร์เน็ต
                7. ลูกศิษย์ชั้น ม.6 โกรธที่อาจารย์ดุด่า จึงไปเขียนในเว็บบอร์ดว่า อาจารย์ผู้ชายท่านนั้น เป็นเอเยนต์สาวขายบริการ พร้อมบอกเบอร์มือถือของอาจารย์ไปด้วย นอกจากนั้น ยังไปเขียนที่เว็บบอร์ดอีกแห่งหนึ่งว่า ภรรยาของอาจารย์ เหงาจัง อยากมีคู่นอน พร้อมกับให้เบอร์ที่บ้านของอาจารย์ งานนี้ทั้งอาจารย์และภรรยา ต้องคอยรับโทรศัพท์ทั้งวันทั้งคืน จนในที่สุดต้องไปขอเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ทั้งที่บ้านและมือถือใหม่หมด

                ที่เล่ามาให้ฟังนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ตนั้นความจริงแล้วมีประโยชน์ต่อเราเป็นอย่างมาก แต่ก็ควรระวังถึงภัยและผลร้ายที่มากับมันไว้ด้วย แต่ก็ไม่ควรกลัวจนจะไม่ใช้มันซะเลย เพราะเหตุว่า ไม่ว่าเราจะหนีมันอย่างไร ก็จะหนีไม่พ้น เพราะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต นั้นมันมาแล้ว และนับวันมันจะมีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากเพิ่มขึ้น ดังนั้น เราจึงควรทำความรู้จักกับมัน เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของคนร้ายที่จะใช้เทคโนโลยีอันนี้มาทำร้ายเรา



การป้องกันภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต
ศิลปะป้องกันตัว 7 ประการ สำหรับ เยาวชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน  ที่ทำงาน หรือเบอร์ที่ทำงาน เลขบัตรเครดิต ของตนเองและผู้ปกครอง ให้แก่บุคคลอื่น ที่รู้จักทาง อินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน
2. แจ้งให้ผู้ปกครอง ทราบโดยทันที หากพบข้อมูล หรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่ หยาบคาย หรือ ไม่เหมาะสม โดยประการทั้งปวง
3. ไม่ไปพบ บุคคลใดก็ตาม ที่ได้รู้จักทาง อินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาต จากผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ให้ไปพบบุคคลนั้นได้ ก็จะไปพบเขา ในที่สาธารณะ ซึ่งมีคนผ่านไปมา โดยมีผู้ปกครอง ไปด้วย
4. ไม่ส่งรูป เงิน หรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่น ที่รู้จักทาง อินเทอร์เน็ต โดยมิได้ขออนุญาตจาก ผู้ปกครอง ก่อน
5. ไม่ตอบคำถาม หรือตอบโต้ กับผู้ที่สื่อข้อความ หยาบคาย หรือไม่เหมาะสม และต้องแจ้งให้ ผู้ปกครอง ทราบโดยทันที
6. เคารพต่อข้อตกลงอื่นๆ ที่ให้ไว้กับ ผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลา ที่จะใช้ อินเทอร์เน็ต , เว็บไซต์ ที่จะเข้าไปได้ และข้อตกลงอื่นๆ อย่างเคร่งครัด
7. ไม่พยายาม หลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ ทั้งหมดข้างต้น ไม่ว่าในกรณีใด
แนวทาง 4 ประการ สำหรับ ผู้ปกครอง ของเยาวชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
1. ใช้เวลาเล่น อินเทอร์เน็ต ด้วยกันกับ บุตรหลาน เพื่อเรียนรู้ว่า เขาใช้ อินเทอร์เน็ต ไปในทางใด และมีความสนใจในเรื่องใด
2. สอนให้ บุตรหลาน รู้ถึงศิลปะป้องกันตัว ทั้ง 7 ประการ สำหรับ เยาวชน ที่ใช้อินเทอร์เน็ต
3. พูดคุย ทำความเข้าใจ กับบุตรหลาน เกี่ยวกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ของเขา เช่น เวลาที่ใช้ได้ จำนวนชั่วโมง ที่ให้ใช้ได้ ประเภทของเว็บไซต์ หรือกิจกรรมทาง อินเทอร์เน็ต ที่เข้าร่วมได้ เป็นต้น
4. ควรวาง คอมพิวเตอร์ ที่บุตรหลานใช้ ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะ วางไว้ใน ห้องนอน หรือห้องส่วนตัว ของเขา



ระบบสารสนเทศ

   
ข้อมูล, สารสนเทศ และการจัดการ
   ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลชนิดต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการนำเสนอค่าความจริงต่างๆ โดยค่าความจริงที่ถูกนำมาจัดการและปรับแต่งเพื่อให้มีความหมายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ
    สารสนเทศ (
Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ประเภทของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น จำนวนยอดขายของตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนในเดือนมกราคมจัดเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลผลรวมกันทำให้ได้ยอดขายรายเดือนของเดือนมกราคม ทำให้ผู้บริหารสามารถนำยอดขายรายเดือนมาพิจารณาว่ายอดขายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ได้ง่ายขึ้น ยอดขายรายเดือนนี้จึงจัดเป็นสารสนเทศ หรือตัวอย่าง เช่น ตัวเลข 1.1, 1.5, และ 1.6 จัดเป็นข้อมูลตัวเลข เนื่องจากเป็นค่าความจริงซึ่งยังไม่สามารถแปลความหมายใดๆ ได้แต่ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่งบอกความหมายของข้อมูลได้มากขึ้น เช่น เมื่อกล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้คือยอดขายประจำเดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคม โดยมีหน่วยเป็นหลักล้าน จะทำให้ตัวเลขทั้ง 3 มี ความหมายเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ายอดขายเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมมีค่าเท่ากับ 1.4 ล้าน จัดเป็น สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลตัวเลขทั้ง 3  ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รูปที่ 1 แสดงขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ







 รูปที่ 1 ขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ



     การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบ
  ระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยส่วนประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยระบบแต่ละระบบถูกจำกัดด้วยขอบเขต (System Boundary) ซึ่งจะเป็นตัวแยกระบบนั้นๆ ออกจากสิ่งแวดล้อม ดังแสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในระบบดังรูปที่ 2











                                           รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในระบบ




 ประเภทของระบบ
ระบบสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายกลุ่ม ดังนี้
1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex)
- ระบบอย่างง่าย (
Simple) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบน้อยและความสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
- ระบบที่ซับซ้อน (
Complex) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบมากหลายส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)
- ระบบเปิด (Open) คือ ระบบที่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปิด (
Close) คือ ระบบที่ไม่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม

3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)
- ระบบคงที่ (Static) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเวลาผ่านไป
- ระบบเคลื่อนไหว (
Dynamic) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ตลอดเวลา

4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (
Adaptive) คือระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (
Nonadaptive) คือระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

5. ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)
- ระบบถาวร(
Permanent) คือระบบที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลายาวนาน
- ระบบชั่วคราว(
Temporary) คือระบบที่มีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ



ประสิทธิภาพของระบบประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดได้หลายทาง ได้แก่
        ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน
        ประสิทธิผล (
Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%
         การทำตัวแบบของระบบในโลกแห่งความเป็นจริงค่อนข้างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อต้องการทดสอบความสัมพันธ์แบบต่างๆ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ตัวแบบของระบบนั้นๆ แทนที่จะทดลองกับระบบจริง ตัวแบบ (Model) คือตัวแทนซึ่งเป็นแนวคิดหรือเป็นการประมาณเพื่อใช้ในการแสดงการทำงานของระบบจริง ตัวแบบสามารถช่วยสามารถสังเกตและเกิดความเข้าใจต่อผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ตัวแบบมีหลายชนิด ได้แก่



1. .TC = (V)(X)+FC
โดยที่
TC = ค่าใช้จ่ายรวม
V = ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย
X = จำนวนหน่วยที่ถูกผลิต
FC = ค่าใช้จ่ายคงที่
       ในการสร้างตัวแบบแบบใดๆ จะต้องพยายามทำให้ตัวแบบนั้นๆสามารถเป็นตัวแทนระบบจริงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้ทางแก้ปัญหาของระบบที่ถูกต้องมากที่สุด



วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ซอฟต์แวร์

     นับตั้งแต่อดีตกาลมาแล้วมนุษย์พยายามที่จะศึกษาเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อควบคุมและเอาชนะ บางครั้งก็สำเร็จและบางครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จมีหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ลูกคิด เครื่องคำนวณแบบ วงล้อ เครื่องคำนวณแบบ อิเล็กโทรนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์
      มนุษย์พยายามที่ประดิษฐ์คิดค้นและสร้างเครื่องมือ เพื่อช่วยทำงานทั้งโดยตรง และทางอ้อม หนึ่งในเครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากการใช้งานในยุกต์แรกๆ เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะมนุษย์ต้องสื่อสารโดยตรงกับเครื่อง โดยการสับสวิสต์ บังคับการทำงานเช่นเดียวกับการเปิดปิดสวิสต์ไฟฟ้า ต่อมาจึงเกิดภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลี และภาษาสูงตามลำดับ ภาษาเหล่านี้เองที่เป็นเครื่องมือในการผลิตซอฟต์แวร์



ซอฟต์แวร์คืออะไร
    ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่คอยสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น Modem, CD ROM, Drive เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซอฟต์แวร์เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างขวางมาก บางครั้งอาจรวมถึง ผลลัพธ์ต่างๆ เช่น ผลการพิมพ์ที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เอกสารการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนคู่มือการใช้ ในการสั่งงานใดๆ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการนั้นต้องอาศัยซอฟต์แวร์เป็นตัวเชื่อมระหว่างคน หรือผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ดั้งนั้น ซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญทัดเทียมกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว


ประเภทซอฟต์แวร์
    ประเภทซอฟต์แวร์อาจจำแนกได้ตามลักษณะการทำงาน ตามลักษณะการใช้งาน แต่โดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งได้ เป็น 5 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packages Software)
ซอฟต์แวร์สั่งระบบงาน (Utility Software)
ซอฟต์แวร์สื่อสาร (Communication Software)


วิธีการจัดหาซอฟต์แวร์
     วัตถุประสงค์ของการจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ก็เพื่อนำซอฟต์แวร์มาใช้ในงาน ซึ่งมีได้หลายแนวทาง เช่น พัฒนาเอง ทั้งหมด พัฒนาเองบางส่วน ออกแบบและให้บริษัทรับไปพัฒนา ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้บางส่วนหรือทั้งหมด แนวทางการจัดหาดังกล่าวมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าในหน่วยงานนั้นๆ มีทรัพย์ยากรปริมาณและคุณภาพเหมาะกับการพัฒนาโดยวิธีใด นอกจากนี้วัตถุประสงค์ขององค์ก็เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณา
ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ   
   ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมา พร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งย่อยๆ ได้ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ


      ระบบปฏิบัติการ (Operating System เขียนย่อว่า OS) บางทีเรียกว่า Supervisory Programs หรือ Monitors Programs นับว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสลับซับซ้อนมาก และเป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุด ระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งๆ จะมีระบบปฏิบัติการของมันเอง (ผู้ผลิตอาจจะมีระบบปฏิบัติการแบบต่างๆ ให้เลือก) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ เป็นเสมือนเลขาที่ทำหน้าที่ให้กับเจ้านาย ระบบปฏิบัติการอยู่เบื้องหลังการทำงานของโปรแกรมระบบงานต่างๆ ให้ติดต่อกับฮาร์ดแวร์ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ควบคุมและดูแลตรวจตราทุกๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่หลักๆ ดังนี้


- กำหนดลำดับการทำงานแต่ละงาน ก่อนและหลังตามเงื่อนไขที่วางไว้
- ควบคุมการทำงาน แบบ Multi-programming
- ควบคุมการรับข้อมูล และแสดงผลลัพธ์โดยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ
- ควบคุมการโยกย้ายข้อมูลระหว่างจอแสดงผล (CRT) และเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
- จัดสรรที่สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลของหน่วยความจำหลัก
- ควบคุมระบบการจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล (Data base)
- จัดสรรเวลาในหน่วย CPU
- ทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์ ที่ควบคุมซอฟต์แวร์อื่นๆ


      โดยมาก OS นี้ มักจะถูกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่รวดเร็ว สะดวก จุข้อมูลสูง และเก็บรักษาข้อมูลได้แม้จะปิดเครื่องแล้วก็ตาม OS จะถูกเรียกเข้าไปไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องใหม่ทุกครั้ง และจะฝังตัวเองในหน่วยความจำ (RAM) เพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ในแต่ละส่วนให้ลงเอยกันตามระบบของ OS แต่ละแบบ เช่น


* DOS เป็น OS ที่รู้จักกันมากในอดีต แม้ในปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ มีหลายเวอร์ชัน ตั้งแต่เวอร์ชัน 1 ถึง 7
* Microsoft Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่แตกต่างจาก DOS โดยที่สามารถจัดการกับโปรแกรมหรือระบบงานต่างๆ ได้พร้อมๆ กัน หลายๆ งาน สามารถโอนข้อมูล รูปภาพหรือไฟล์ต่างๆ ข้ามระบบงานภายใต้ไมโครซอฟท์วินโดว์ร่วมกันได้ อีกทั้งมีการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้โดยใช้สัญลักษณ์ทางรูปภาพ (Icon) โดยการใช้เมาส์ ซึ่งเรียกการติดต่อในลักษณะนี้ ว่า Graphic User Interface (GUI) ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการสั่งงานผ่านทางแป้นพิมพ์ได้เป็นอันมาก และสามารถรองรับโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ ที่ผลิตออกมาได้เป็นจำนวนมาก มีหลายเวอร์ชัน เช่น WINDOWS 95, WINDOWS 98, WINDOWS 2000, WINDOWS ME, WINDOWSNT


     นอกจากนี้ ยังมี OS อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก เช่น Unix, Sun, OS/2 warp, Net Ware และกำลังเป็นที่ฮือฮากันมาก ว่ามีความสามารถไม่แพ้ Windows NT ก็คือ Linux ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ Unix