รักทุกฤดู

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความสามารถในการทำงานมากที่สุดด้วย
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถในการทำการประมวลผลข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลนับเป็นล้าน ๆ ได้ในเวลาดันรวดเร็ว เหมาะสมกับหน่วยงาน เช่นธนาคาร สายการบิน
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ไม่มากนัก เหมาะกับการ


     คอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นทั่วไป มักเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จนคนบางกลุ่มเกิดความเข้าใจผิด คิดไปว่าคอมพิวเตอร์ในโลกนี้ มีอยู่เพียงประเภทเดียว การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นั้น จะพิจารณาจากทั้งขนาดและ ความสามารถในการทำงาน แต่ถึงแม้ว่าเราพยายามที่จะแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ เพียงไรก็ตาม ความจริงที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอก็คือ คอมพิวเตอร์มักไม่สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจนว่าเป็นประเภทไหนหรือแม้แต่ในเรื่องของประสิทธิภาพเอง ก็มีการซ้อนกันอยู่ ประกอบกับคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจึงทำให้การแบ่งยากมากขึ้นไปอีกด้วย
ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลได้เร็วที่สุด ทำงานในแต่ละวินาทีได้ถึงพันล้านคำสั่ง เรามักพบเห็นคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ในหน่วยงานขนาดใหญ่มากๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เช่น ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา, วงการการออกแบบหรือสร้างภาพยนตร์ ที่มีการสร้างภาพซึ่งมีความละเอียดและการเคลื่อนไหวเร็วมาก ๆ เช่น ภาพยนต์การ์ตูนเรื่อง ไดโนเสาร์ (Dinosaur) หรือในงานวิจัย เช่นการวิจัยเรื่อง DNA ของมนุษย์หรืองานสร้างอาวุธที่มีศักยภาพ เป็นต้น ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะมีความสามารถสูงมาก แต่ก็มีขีดจำกัดในการที่หน่วยงานจะนำมาใช้ได้ เพราะคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ก็มีราคาที่สูงมากด้วยเช่นกัน จึงทำให้เราไม่สามารถพบเห็นคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้แพร่หลายมากนัก






รูปเครื่องซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง และขนาดใหญ่
 
     จอภาพหรือเครื่องพิมพ์และถ้ามีเสียงก็จะส่งออกทางลำโพงได้เช่นกันและถ้าต้องการเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ ก็จะเก็บข้อมูลไว้ในส่วนสำรองข้อมูลโดยผ่านเครื่องอ่านและเขียนแผ่นดิสก์เก็ต ปัจจุบันที่นิยมใช้ จะเป็นแผ่นดิสก์เก็ต ที่มีขนาด 3 ? นิ้ว หรือเก็บไว้ในเครื่องอ่านหรือเขียนฮาร์ดดิสก์ ที่สามารถนำข้อมูลออกมาใช้ได้สะดวกและรวดเร็วกว่า นอกจากนี้เราอาจเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องอ่านและเขียน CD-ROM ในลักษณะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล




เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลได้เร็วมาก ทำงานในแต่ละวินาทีได้ถึงล้านคำสั่ง เรามักพบเห็นคอมพิวเตอร์เหล่านี้ในหน่วยงาน ที่มี ข้อมูลมากๆ และมีการประมวลผลที่รวดเร็ว เช่น ลูกค้าของธนาคารย่อมต้องการทำรายการหรือการเบิกถอนที่รวดเร็วจากธนาคาร การควบคุมสายการผลิตสินค้าที่ต้องการทั้งความถูกต้องและความรวดเร็ว การจองหรือยกเลิกตั๋วของสายการบินที่มีลูกค้าจากทั่วโลก เราจะสังเกตุได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว บริษัทที่ใช้เครื่องประเภทเมนเฟรม มักเป็นธุรกิจบริการที่มีข้อมูลของลูกค้าเป็นจำนวนมาก และต้องการความรวดเร็ว ในการบริการเพราะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง อีกทั้งต้องสามารถให้บริการลูกค้าคราวละหลาย ๆ คนได้พร้อมกันโดยไม่ต้องมีการรอกัน เราเรียกระบบที่สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายคนได้พร้อมๆ กันว่า "มัลติยูสเซอร์" (Multiuser) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีราคาที่สูงถึงหลายล้านบาทเช่นกัน ดังนั้น เราก็จะพบเห็นคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ในธุรกิจขนาดใหญ่ๆ หรือในภาครัฐบาล เช่น กรมศุลกากรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากและต้องการความ รวดเร็วในการให้บริการ เป็นต้น ถึงแม้จะมีคำถามเกิดขึ้นกับผู้ใช้บ่อย ๆ ว่าเมื่อเทียบประสิทธิภาพต่อราคาของเมนเฟรม จะสูงกว่าประสิทธิภาพต่อราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาก อย่างไรก็ดี การทำงานสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็ยังไม่สามารถแทนที่คอมพิวเตอร ์ประเภทเมนเฟรมได้ 




เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์


         สำหรับขนาดของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นี้ ก็ยังมีความสามารถในการทำงานในหลายระดับ ตั้งแต่หน่วยงานที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ระบบลงทะเบียน ระบบรายงานผลการเรียน เป็นต้น เราเรียกเมนเฟรมที่มีการทำงานขนาดนี้ว่า "มินิคอมพิวเตอร์" (Minicomputer) ไปจนถึงหน่วยงานที่มีการทำงานซับซ้อนมากขึ้น จะใช้เมนเฟรมที่มีขนาดกลาง (Midsize Mainframe) เช่น กรมสรรพากร ซึ่งจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อคำนวณยอดภาษีของผู้ประกอบการทั้งประเทศ สำหรับความรวดเร็วในการให้บริการอาจมีความจำเป็นน้อยกว่ากรมศุลกากรอยู่บ้าง เพราะไม่ต้องแข่งขันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าและสุดท้ายเป็นเมนเฟรมขนาดใหญ่ ที่มีการทำงานซับซ้อนมากขึ้นไป เช่น ธนาคาร บริษัทสายการบิน กรมศุลกากรเป็นต้น


    


         คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กและมีความสามารถในการประมวลผลที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับ เครื่องระดับซูปเปอร์คอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม แต่ก็สามารถรองรับงานได้ดีสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางหรือแม้แต่นำมาใช้ภายในบ้าน เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาถูกในระดับตั้งแต่ไม่กี่หมื่นบาทจนถึงไม่กี่แสน ด้วยราคาที่ไม่สูงนี่เองจึงทำให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ในบางครั้งอาจเรียกว่า "ไมรโครคอมพิวเตอร์" (Microcomputers) หรือเรียกย่อๆ ว่า "พีซี" (PCs) และเช่นเดียวกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ พีซีเองก็มีขนาดและวัตถุประสงค์การใช้งานในระดับที่ต่างกันมากมายให้เลือกซื้อมาใช้ เช่น ถ้างานที่ต้องการความเร็วมากก็ซื้อเครื่องที่มีหน่วยประมวลผลที่มีความความเร็วสูงหรือถ้าต้องการใช้งานที่มีขนาดของข้อมูลมาก ก็ซื้อเครื่องที่มีหน่วยความจำมากๆ รวมถึงซื้อส่วนสำรองข้อมูลที่มีความจุมาก ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีราคาถูกหรือแพง ก็เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อจะได้พิจารณาเลือกซื้อได้ตามต้องการ





 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น